พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้นก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ตั้งนะโม ๓จบ แล้วระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จๆด้วยถ้อยคำว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละ เภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิ โส ภะคะวายะมะ ราชาโน ท้าวเสสสุวัณโณ
มรณังสุข้ัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะ มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทัก ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
๕. ทักขิเณ สะวะเนมัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
๖. เกสันโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมหันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญ จะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๒. ชินา นานา วะระหังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔. ชินาปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มีง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.
คำแปล พระคาถาชินบัญชร
๑-๒) ขอให้พระพุทธนราสภจอมมุนีนายกทั้ง ๒๘ พระองค์ มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า ตัณหังกร เป็นอาทิบรรดาที่ประทับนั่งเหนืออาสนะชัย ทรงชนะมารพร้อม ด้วยพาหนะ ได้ดื่มรสคือจตุสัจธรรมอันประเสริฐ จงมาประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องกระหม่อมของข้าพเจ้า
๓) ขอให้พระพุทธ จงประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งขาพเจ้า
ขอให้พระธรรม จงมาประดิษฐานอยู่ที่ตาทั้งสองของขาพเข้า
ขอให้พระสงฆ์องค์บ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวง จงมาประดิษฐานอยู่ที่อุระแห่งขาพเจ้า
๔) ขอให้พระอนุรุทธเถระ จงมาประดิษฐานอยู่ที่ดวงหทัยแห่งขาพเจ้า พระสารีบุตรจงมาประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องขวา พระโกณฑัญญะจงอยู่ ณ เบื้องหลัง และพระโมคคัลลานะจงมาอยู่ ณ ส่วนเบื้องซ้าย
๕) ขอให้พระอานนท์และพระราหุลจงอยู่ ณ โสดเบื้องขวา พระกัสปและพระมหานามทั้งสององค์ จงอยู่ ณ โสตเบื้องซ้าย
๖) ขอให้พระพุทธโสภิตจอมมุนี ทรงสมบูรณ์ด้วยสิริความสว่าง (แก่ประชาชน) ประดุจดวงอาทิตย์ จงสถิตนั่ง ณ ส่วนเบื้องหลังตั้งแต่ริมผมขึ้นไป (แห่งขาพเจ้า)
๗) ขอให้พระกุมารกัสสปเถระ ผู้มีวาทะอันไพจิตรเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีอันยิ่งใหญ่ จงมาประดิษฐานอยู่ที่ ปาก(วทเน) แห่งขาพเจ้าเป็นเนืองนิจ
๘) ขอให้พระเถระ คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาลพระอุบาลี พระนันทะและพระสีวลี ๕ องค์นี้ จงเกิดเป็นประดุจต่อมไฝหรือรอยเจิมที่นลาฏ (หน้าผาก) แห่งขาพเจ้า
๙) ขอให้พระอสีติมหาเถระชินสาวกชิโนรส ผู้พิชิตชำนะมารรุ่งโรจน์อยู่ด้วยเดชแห่งศีลนอกจากนั้น จงมาสถิตอยู่ที่อวัยวะน้อยใหญ่ แห่งขาพเจ้า
๑๐-๑๑) ขอพระรัตนสูตรจงอยู่ข้างหน้า เมตตสูตรจงอยู่ข้างขวา ธชัคคสูตรจงอยู่ข้างหลัง อังคุลิมาลสูตรจงอยู่ข้างซ้าย ขันธโมรปริตร และอาฏานาฏิยสูตร จงเป็นเพดานกางกั้นอากาศ ขอบรรดาพระสูตรอันประเสริฐต่างๆ ของพระชินะนอกจากนั้น จงตั้งเป็นประดุจกำแพงล้อมไว้ ๗ ชั้น
๑๒-๑๓) เมื่อขาพเจ้ายังดำเนินกิจของตนอยู่ (เข้าใจว่าบวชอยู่) ในธรรมวินัยเป็นระบบแห่งพระสัมมาสัมพุทธะ ขอให้บรรดาอุปัทวันตรายทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่ลมร้ายและน้ำดีเป็นอาทิ จงถึงความย่อยยับไปด้วยเดชแห่งพรชินมุนี อันหาที่สุดมิได้โดยไม่เหลือในกาลทุกเมื่อ
๑๔) ขอให้พระพุทธองค์ผู้เป็นพระมหาบุรุษอันประเสริฐทั้งมวลนั้น จงช่วยคุ้มครองป้องกันข้าพเจ้าผู้ยังอยู่ ณ ท่ามกลางแห่งพระะธรรมวินัยอันเป็นระบบพระชินมุนี ณ พื้นปฐพีนี้ทุกเมื่อเทอญ
๑๕) ข้าพเจ้าซึ่งพระมหาบุรุษเหล่านั้นคุ้มครองรักษาดีแล้วในภายในอันเป็นชำนะแล้วซึ่งอุปัทภัยด้วยชินานุภาพชำนะแล้วซึ่งข้าศึกคือ กิเลส (เครื่องข้อง) ด้วยธรรมานุภาพ ชำนะแล้วซึ่งอันตรายด้วยสังฆานุภาพ อันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมคุ้มครองแล้ว อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในระบบของพระชินพุทธเจ้าแล
ด้วยความเมตตากรุณาอันเปื่ยมล้นแห่งคุณธรรมดังกล่าวแล้วสุดที่จะหาประมาณมิได้ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพราะเหตุนี้จึงไม่แปลกประหลาดใจแต่อย่างใดเลยที่เราทุกคนจะเห็นอนุสรณ์พระพิมพ์สมเด็จฯ และคาถาสมเด็จฯ ของท่านอยู่ ณ ที่ต่างๆ แผ่ไพศาลทั่งไปในบรรดาพุทธศาสนิกชน และชาวต่างประเทศ มีไว้เพื่อกราบไว้บูชาขอความเป็นศิริมงคล และรำลึกถึงจนตราบชั่วนิรันดร์
อานิสงส์ ชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าประคณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ
พระคาถานี้ เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสรู้มาก่อนหน้านั้น จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพอันสำเร็จคุณธรรมวิเศษ แต่ลงค์ไม่เหมือนกัน นอนจากนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่างๆอันโบราณาจารย์ ถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิศษ แต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้างเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัวจนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้
เมื่อท่านเจ้าประคณสมเด็จฯ ท่านเล่าพระคาถาชินบัญชรจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสสรรเสริญว่า"ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ร้อยกรองพระคาถาได้ไพเราะนัก" เหตุด้วยพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นของเก่าฉบับเดิมเป็นของสิงหล(ลังกา) หากแต่ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้เนำเอามาเรียบเรียงเป็นร้อยกรองขึ้นมาใหม่ให้มีอักษรสัมผัสนอกสัมผัสในเพื่อสะดวกในการท่องจำและถูกต้องตามอักขระวิธี ท่านผู้รู้บางท่านว่าท่านนำของเดิมมาแต่งเป็นร่ายก็มีและถ้าได้พิจรณาจากคำแปลของพระคาถาชินบัญชรแล้วจะเห็นว่าเป็นคำอารธนาขอพรพระ หรือขอให้พระอสิตมหาสาวกผู้เลิศด้วยปัญญาบารมีตลอดจนพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายช่วยปกป้องคุ้มครองผู้บำเพ็ญภาวนามากกว่าจะเป็นคาถาปลุกเสกพระเครื่อง แต่อย่างไรก็ตามพุทธศาสนิกชนได้เลื่อมใสและศรัทธา ชินบัญชรพระคาถาทรงคุณานุภาพ สามารถบำบัดโรคาพยาธิได้ทุกอย่าง ทั้งแคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวง ป้องกันแก้คุณไสย คุณผีและ คุณคน ผู้ใดหมั่นเจริญภาวนาเป็นนิตย์จะเจริญดวยลาภยศ สรรเสริญ สุขทุกทิพาราตรีกาล
ปัจจุบันได้มีผู้บันทึกเทปชินบัญชรพระคาถาจำหน่าย ย่อมเป็นความสะดวกสบายในการท่องจำ บางท่านยังเชื่อกันว่าเฉพาะการท่องคาถาชินบัญชรเป็นประจำทุกวันก็เท่ากับท่านมีพระสมเด็จบูชาอยู่กับตัวเช่นกัน
ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น คุณานุภาพก็ทราบแต่เพียงว่าสมเด็จวัดระฆังฯดีทางเมตตามหานิยมอย่างสูง แต่ต่อมาเมื่อท่านเจ้าประคุณเจ้าสมเด็จฯ ได้สิ้นชีพตักษัยเพียงปีเดียวเท่านั้น คือในแผ่นดินสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ในปีระกา พ.ศ.๒๔๑๖ ในกรุงเทพมหานครได้เกิดอหิวาตกโรค หรือโรคห่าลงระบาด ชาวบ้านเรียกว่าปีระกาห่าใหญ่ ดังปรากฏตามปูมโหรว่า
"ณ วันเสาร์ แรม ๑๑ ค่ำ คนไข้เป็นอหิวาตกโรคตายประปรายขั้นปฐม"
"ณ วันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ ตายมากขึ้น"
โรคห่าลงนี้ไดระบาดไปทั่วตามแม่น้ำลำคลองแพร่เชื้อโรคร้ายไปถ้วยทั่วทุกจังหวัด ชาวบ้านผู้อยู่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองและชาวบ้านที่อาศัยน้ำดื่มกิน จะต้องตายด้วยโรคห่าลง ถึงแต่ความตายเป็นจำนวนมากเล่ากันว่าศพที่นำเอามาทิ้งบริเวณประตูผีตลอดจนถึงภูเขาทองศพกองทับถมกันเป็นจำนวนมากไม่สามารถจะเผาได้ทันเพราะเป็นศพสด ในสมัยนั้นไม่มีการเผาที่ทันสมัย มีแต่ฟืนเท่านั้นที่ใช้เผา ยิ่งเผาศพสดแต่ละศพต้องใช้ฟืนเป็นจำนวนมาก ถ้าญาติใครตาย ใครจะเผาศพ ไม่ใช่เอาเงินใสซองไปเท่านั้นก็พอ แต่ต้องเอาฟืนติดตัวไปคนละดุ้นสองดุ้น เรียกว่าไปช่วยกันเผาศพ
ในครั้งนั้นกล่าวกันว่า ดวงวิญญาณของทานเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปเข้าฝันบอกกล่าวให้ชาวบ้านชาวเมืองโดยทั่วกันว่าถ้าใครเป็นโรคระบาดเหล่านี้ให้อารธนาพระสมเด็จที่ท่านสร้างลงแช่ในขันทำน้ำมนต์โดยจุดธุปเทียนดอกไม้บุชาอารธนา และอธิฐานขอให้บังเกิดเป็นน้ำพระพุทธมนต์ดื่มกินเข้าไปก็ช่วยรักษาผู้เจ็บป่วยให้หายได้
ปรากฏว่าในกาลครั้งนั้น พุทธานุภาพจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ช่วยชีวิตประชาชนพลเมืองที่ชะตาไม่ถึงฆาตได้เป็นจำนวนมากเพราะได้น้ำพระพุทธมนต์จากพระสมเด็จฯ โรคห่าลงที่ระบาดอยู่นั้นได้ค่อยคลี่คลายลงไปในที่สุด ดังมีปรากฏในปูมโหรว่า
"ณ วันพูทธ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ไข้ลงรากยังชั่วขึ้น"
"ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ ไข้ลงรากน้อยลง"
"ณ วันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ความไข้สงบเงียบลง"
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระสมเด็จวัดระฆังเริ่มมีค่านิยม ต่างขวนขวายแสวงหากันสืบต่อๆ มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ และเป็นธรรมที่ความต้องการมีจำนวนมาก และสูงด้วยค่านิยมนี้ ของทำเทียม และเลียนแบบ ก็ยิ่งมีมากเป็นเงาตามตัว
ความเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต และความเฉลียวฉลาด ตลอดจนปฏิภาณไหวพริบ ในเรื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่าตเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ธนบุรี ท่านผู้สร้างพระสมเด็จอันมีชื่อเสียงโด่งดังขยายขจรไปทั่วจนได้รับสมญานามว่าเป็น ราชาพระเครื่องและสูงยิ่งด้วยค่านิยมนั้น ยังมีเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังอย่างไม่รู้จบสิ้น และต่อไปนี้ก็เป็นพฤติกรรมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติตามคำอาราธนาของผู้ที่มาอาราธนาอย่างเคร่งครัดแบบเถรตรงแม้จะตระหนักแก่ใจดีว่า "ความจริงมิได้เป็นเช่นคำอาราธนานั้น" หรือไม่ก็แกล้งทำโง่ตามคำโบราณว่า "คนที่โง่ไม่เป็นนั้น ฉลาดยาก"
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ท่านเป็นผู้สำเร็จราการแผ่นดินอยู่ในตำแหน่งถึง ๕ ปีกว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จักทรงบรรลุนิติภาวะว่าราการแผ่นดินได้แล้ว ท่านจึงพ้นหน้าที่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ท่านมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จ เป็นอย่างมาก และขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการเป็นเวลานานถึง ๕ ปี ได้มีความซือสัตย์สุจริต ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๕) อย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามก็เข้าทำนองว่า "คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ" ยังมีข่าวลือว่าท่านจักคิดทรยศต่อแผ่นดิน ความได้ทราบถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านจึงได้จุดไต้กลางวันเป็นวาระสอง แล้วเดินเข้าไปในวัง เจ้าพระยาศรีสุริยวงส์(ช่วง บุนนาค) พร้อมกับพูดกับท่านผู้สำเร็จราชการว่า " จะเป็นเพียงข่าวลือหรือเท็จจริงอย่างไรอาตมาขอบิณฑบาตเสีย" และท่านผู้สำเร็จราชการก็อนุโมทนา
ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้สำเร็จราชการผู้สำเร็จราชการจึงมักจะอาราธนาท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปแสดงพระธุรฌาเทศนาอยู่เนืองๆ อยู่ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเจ้าพระยาฯ ได้สั่งให้บ่าวคนหนึ่งไปนิมนต์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ มาเทศน์เรื่อง อริยสัจ ในค่ำคืนวันนี้ แต่บ่าวผู้นั้นหาได้เขียนลงในใบฎีกาอาราธนาก็หาไม่ เมื่อไปถึงกุฏิสมเด็จฯ ตัวเองก็ลืมเรื่องที่ท่านผู้สำเร็จราชการให้มาเสีย เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็้จฯ ท่านถามว่าไปเทศน์เรื่องอะไร บ่าวผู้นั้นพลันลืมเรื่อง อริยสัจ นึกคะเนได้แต่ว่า สอบสองนักษัตร จึงกราบเรียนท่านไปว่า สอบสองนักษัตรขอรับกระผมแล้วก็กราบลาท่าน
ฝ่ายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านคิดว่าในการนี้เห็นว่า ท่านเจ้าพระยาฯ จะให้ไปเทศเรื่องอริยสัจเป็นแน่แท้แต่ทว่าบ่าวคนอาราธนาท่านไปเทศน์นั้น คงจะจำหัวข้อไม่ได้จึงบอกว่าเรื่องสิบสองนักษัตร ดังนี้พอได้เวลาพลบค่ำท่านจึงเดินทางไปยังวังของผู้สำเร็จราชการพร้อมกับลูกศิษย์แบกคัมภีร์เข้าไปเทศนา ซึ่งมีท่านพระยาฯ บริวาร อุบาสกอุบาสิกามาคอยฟังเทศน์ อยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก เพราะกิตติศัพท์การเทศน์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในยุคนั้นเต็มไปด้วยอรรถรสเป็นยิ่งนัก
เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงขึ้นธรรมาสน์ ให้ศีลบอกพุทธศักราช แลตั้งนะโมสามหน จบแล้วจึงว่าชนนีบทสิบสองนักษัตรว่า มุสิโก อุสโก พยัคโฆ สโส นาโค สัปโป อัสโส เอฬโกก มักกโฏ กุกกุโต สุนักโข สุกโร แล้วแปลเป็นไทยว่า มุสิโก หนู อุสโก วัวผู้ พยัคโฆ เสือ สโส กระต่าย นาโค งูใหญ่ สัปโป งูเล็ก อัสโม ม้า เอฬโก แพะ มักกโฏ ลิง กุกกโฏ ไก่ สุนักโข สุนัข สุกโร สุกร ฝ่ายท่านเจ้าพระยาฯ เจ้าของกัณฑ์กับพวกสัปปุรุษทายกก็มีความสงสัยว่า ทำไมเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมาเทศสิบสองนักษัตรดังนี้เล่าแลสงสัยว่าบ่าวจะนิมนต์ท่านเรียกชื่ออริยสัจผิดไปดอกกระมังท่านพระยาฯ จึงเรียกบ่าวคนนั้นเข้ามาถาม เจ้าไปนิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ เทศน์เรื่องอะไร บ่าวก็กราบเรียนว่านิมนต์เทศน์เรื่องสิบสองนักษัตรขอรับผม ท่านเจ้าพระยาฯจึงว่านั่นปะไรเล่า เจ้าลืมชื่ออริยสัจไปเสียแล้ว ไปคว้าเอาสิบสองนักษัตรเข้า ท่านจึงมาเทศน์ตามเจ้านิมนต์นั่นซี
ฝ่ายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็เป็นผู้ฉลาดเทศน์ ท่านจึงอธิบายรำพรรณหน้าธรรมาสน์ว่า อาตมาภาพก็นึกอยู่แล้วว่าผู้ไปนิมนต์จะลืมชื่ออริยสัจเสีย ไปบอกท่านให้นิมนต์เทศน์สิบสองนักษัตร อาตมาภาพก็เห็นว่าสิบสองสักษัตรนี้ คือเป็นต้นทางของอริยสัจแท้ทีเดียว ยากที่บุคคลจะได้ฟังธรรมเทศนาเรื่องสิบสองนักษัตรสักครั้งสักหนเทศน์ที่ใหนๆ ก็มีแต่เทศอริยสัจทั้งนั้น ไม่มีใครจะเทศสิบสองนักษัตรสู่กันฟังเลย ครั้งนี้เป็นบุญลาภของมหาบพิตรเป็นมหัศจรรย์ เทพยเจ้าผู้รักษาพระพุทธศานาจึงได้ดลบันดาลให้ผู้รับใช้เคลิบเคลิ้มไป ให้บอกว่าเทศน์สิบสองนักษัตรดังนี้ อาตมาภาพก็มาเทศน์ตามผู้นิมนต์เพื่อจะให้สาธุชนและมหาบพิตรเจ้าของกัณฑ์ได้ฟังธรรมเทศนาเรื่องสิบสองนักษัตรอันเป็นต้นทางของอริยสัจทั้งสี่จะได้ธรรมสวนานิสงส์อันล้ำเลิศซึ่งจะได้ให้ก่อเกิดปัจจเวกขญาณในอริยสัจสี่แท้ที่จริงธรรมเนียมนับปี เดือน วัน คืน นี้ นักปราชญ์ผู้รู้โหราศาสตร์แต่ครั้งโบราณต้นปฐมกาลในชมภูทวีปบัญญัติตั้งแต่งขึ้นไว้ คือกำหนดหมายเอาชื่อดวงดาวในอากาศเวหามาตั้งเป็นชื่อ ปี เดือน วัน ดังนี้ คือ
ความคิดเห็น